เก็บตกจากวชิรวิทย์ | ประวัติศาสตร์โรคระบาด สู่อนาคตมนุษยชาติบนความเสี่ยง

 สำรวจข้อมูล 5 โรคอุบัติใหม่ 1 โรคอุบัติซ้ำ 


โรคระบาดในอดีตที่เริ่มมีการบันทึกในประวัติศาสตร์โลก คือ กาฬโรค หรือBlack Death เมื่อ .. 1890 ซึ่งมี หนู” เป็นพาหะ เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน จนนำมาสู่คนสู่คน คาดการณ์มีผู้เสียชีวิตไปราว 200 ล้านคนทั่วโลก นับแต่นั้นเป็นต้นมามีการเกิดโรคใหม่อีกเรื่อย  แต่ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีโรคระบาดใหม่เกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น โรคเหล่านี้ถูกเรียกว่า “โรคอุบัติใหม่” 



การสาธารณสุขที่ทันสมัยมากขึ้น ทำให้เกิดนวัตกรรมในการควบคุมโรคเช่นการปลูกฝีดาษ หรือวัคซีน โรคอุบัติใหม่ที่เคยระบาดก็ถูกกวาดล้างไป แต่เมื่อภูมิคุ้มกันหมู่ของคนเริ่มลดลง ก็จะเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “โรคอุบัติซ้ำ” 


โรคใหม่  มักเริ่มจากการระบาดในสัตว์ จากสัตว์สู่คน และที่น่ากังวลมากที่สุดคือกลายเป็นการระบาดจาก คนสู่คน ดังนั้นการเฝ้าระวังและติดตามแนวโน้มของโรคจึงเป็นงานหนัก สำหรับ นักระบาดวิทยา” ที่ต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีระบบ เพื่อวางแผนจัดทำมาตรการป้องกัน   การทราบจำนวนผู้ป่วยของโรคต่างๆ จึงมีความสำคัญเพราะจะบ่งบอกถึงการกระจายของโรค นำไปสู่การพยากรณ์การระบาด  


แม้ โควิด-19 กำลังกลายเป็นโรคประจำถิ่น แต่การระบาดของโรคที่เคยอุบัติใหม่ ยังเป็นสิ่งที่ต้องติดตาม 

ปัจจุบัน กรมควบคุมโรคกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กรมปศุสัตว์กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (US.CDC) ประจำประเทศไทย องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (FAO) และผู้เข้าร่วมประชุมจากสหสาขาวิชา รวมถึงองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังคงทำงานร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ซึ่งเหตุผลที่ยังคงต้องเฝ้าระวังก็เพราะมีโอกาสที่จะกลับมาระบาดซ้ำ 


เก็บตกจากวชิรวิทย์ สำรวจข้อมูล 5 โรค อุบัติใหม่ และ 1 โรค อุบัติซ้ำ โดยรวบรวมข้อมูล  วันที่ 25 .. 2565 โดยอ้างอิงข้อมูลจาก : องค์การอนามัยโรคกรมควบคุมโรคสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ในพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร





1. โรคไข้หวัดนก (Zoonotic avian influenza)   

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ที่พบในนกและสัตว์ปีก โดยอาการและความรุนแรงของโรคขึ้นกับสายพันธุ์ของไวรัสและชนิดของสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ สายพันธุ์ที่มีความสำคัญคือ H5N1 ซึ่งทำให้สัตว์ปีกที่ติดเชื้อมีอาการรุนแรงและตายอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งใน

สหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกในปี ..2547-2549 แต่หลังจากปี .. 2549 เป็นต้นมายังไม่มีรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดนกจนถึงปัจจุบัน โดยมีผู้ติดเชื้อ 861 คน อัตราเสียชีวิต60%


2. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19, SARS, MERS) 

เชื้อไวรัสโคโรน่า (CoVs) เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (single stranded RNA virus) ใน Family Coronaviridae มีรายงานการพบเชื้อมาตั้งแต่ช่วงพ..2508 โดยสามารถติดเชื้อได้ทั้งในคนและ
สัตว์ เช่น หนู ไก่ วัว ควาย สุนัข แมว กระต่าย และสุกร ประกอบด้วยชนิดย่อยหลายชนิดและทำให้มีอาการ แสดงในระบบต่างๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ(รวมถึงโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส; SARS CoV) ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท หรือระบบอื่นๆ มีข้อสังเกตุว่าพาหะของโรคคือสัตว์ป่าหลายชนิด 


ไวรัสโคราน่าทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจแล้ว 3 โรคคือ 1.โรคซาร์ส หรือโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ถูกถ่ายทอดจากชะมดไปยังคน2.โรคเมอร์ส หรือโรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง ติดต่อจากอูฐ สู่คนและ 3. โรคโควิด-19 ติดต่อจากค้างคาว หรือลิง สู่คน โดยมีผู้ติดเชื้อซาร์ส  8,096 คน อัตราเสียชีวิต 9.6% เมอร์ส ติดเชื้อ 2,519 คน อัตราเสียชีวิต34.3% โควิด ติดเชื้อ 567 ล้านคน อัตราเสียชีวิต 2%


3. โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ (Nipah virus)  

ไวรัส์นิปาห์ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่เดือนกันยายน .. 2541 ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงในสุกรและการติดเชื้อไข้สมองอักเสบในมนุษย์ แหล่งรังโรคตามธรรมชาติคือ ค้างคาวผลไม้ (Pteropus) หรือเรียกว่า flying fox ซึ่งไม่แสดงอาการป่วย แต่สัตว์ที่สามารถติดเชื้อไวรัสนิปาห์ได้ คือ สุกร สุนัข แพะ แมว ม้า และแกะ ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะโรค การติดต่อของโรคมาสู่คนเป็นจากการสัมผัส หรือรับประทานวัตถุที่ปนเปื้อน ปัสสาวะอุจจาระ หรือน้ำลายของค้างคาวที่เป็นพาหะ  โดยมีผู้ติดเชื้อ 573 คน อัตราเสียชีวิต 70%


4. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) 

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดเชื้อในระบบประสาทจากสัตว์สู่คน มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะเสียชีวิตเกือบทุกราย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษา ทั้งนี้โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน แต่ปัจจุบันยังมีผู้ติดเชื้อนับหมื่นคนทุกปี ในช่วงฤดูร้อน 


โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น แมว ค้างคาว วัว ลิงชะนี กระรอก กระต่าย รวมถึงหนู เป็นต้น แต่พบว่าสุนัขและแมวเป็นสัตว์ที่นำโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คนได้บ่อยที่สุด โรคพิษสุนัขบ้าติดต่อโดยการสัมผัสกับน้ำลายจากการถูกกัด ข่วนหรือเลียบริเวณที่มีบาดแผลรอยถลอกหรือรอยขีดข่วนบาดแผล หรือถูกเลียบริเวณเยื่อบุตา หรือปาก เป็นต้น นอกจากนี้ การชำแหละซากสัตว์หรือรับประทานผลิตภัณฑ์ดิบจากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าก็สามารถติดโรคได้ โดยมีผู้ติดเชื้อ 55,000 คน / ปี อัตราเสียชีวิต 100%


5. โรคอีโบลา (Ebola) 

โรคอีโบลา เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส อีโบลา (Ebola virus) ซึ่งเป็นโรคที่มีความรุนแรงและอันตรายถึงชีวิต พบว่ามีการระบาดครั้งแรก คือที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในแอฟริกากลาง เมื่อได้รับเชื้อไวรัสนี้เข้าสู่ร่างกาย ไวรัสก็จะสร้างความเสียหายแก่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆในที่สุดแล้วจะทำให้ระดับเซลล์การแข็งตัวของเลือด (Blood-Clotting Cells) ต่ำลงและนำไปสู่ภาวะเลือดออกที่รุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้


โรคอีโบล่าไม่ได้เป็นโรคที่แพร่เชื้อได้ง่ายเหมือนกับโรคหวัดทั่วไปอย่างไข้หวัดใหญ่ หรือโรคหัด โดยสามารถแพร่สู่คนจากการสัมผัสผิวหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ เช่น ลิง ลิงชิมแปนซี หรือค้างคาว และสามารถติดต่อกันจากคนสู่คนด้วยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดที่ติดเชื้อและสารคัดหลั่ง มีผู้ติดเชื้อ 3,470 คน อัตราเสียชีวิต 66%


ทั้ง 5 โรคนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันพัฒนาระบบเฝ้าระวังเเละป้องกันโรคให้ดียิ่งขึ้น พร้อมจัดสรรทรัพยากรแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว นอกจากนี้ ผู้เเทนหน่วยงานเครือข่ายยังหารือโรคติดต่อระหว่างสัตว์เเละคนอีกหลายโรค อาทิ โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis) โรคเมลิออย (Melioidosis) โรคไข้หูดับ ก่อโรคโดยเชื้อ Streptococcus suis เเละโรคมาลาเรียที่ก่อโรคโดยเชื้อ Plasmodium Knowlesi เพราะสถานการณ์มีแนวโน้มพบสูงขึ้นเเละต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด ซึ่งจะเห็นได้ว่าโรคติดต่อระหว่างสัตว์เเละคนเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผนวกกำลังกันจึงจะลดความเสี่ยงเเละรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้


ฝีดาษลิง โรคอุบัติซ้ำ

ไวรัสพบในสัตว์อาจจะข้ามมาสู่คนได้ เช่น ฝีดาษวัว ฝีดาษลิง ฝีดาษคน(smallpox) ถ้าเกิดในมนุษย์จะรุนแรงที่สุด และติดต่อคนสู่คนได้ง่ายมาก แต่การข้ามสายพันธุ์ของไวรัสฝีดาษลิงมาสู่คน การแพร่กระจายจะเกิดได้ยากกว่า ต้องสัมผัสอย่างใกล้ชิด และความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่าฝีดาษคนมาก 


เชื้อไวรัสฝีดาษลิง เป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษคน หรือไข้ทรพิษ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ จึงสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85% 


ก่อนหน้าที่จะกวาดล้างไข้ทรพิษไปได้ มีการปลูกฝีแต่ได้มีการยกเลิกไปตั้งแต่ปีพ.. 2523 เพราะไม่พบโรคนี้ระบาดอีกแล้ว เด็กที่เกิดภายหลังจะไม่เคยได้รับการปลูกฝี จึงเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิง หากกำลังกลับมาระบาดซ้ำ


สำหรับประเทศไทย แต่เดิมปลูกฝีให้กับทุกคน โดยเฉพาะตั้งแต่แรกเกิด จนสามารถควบคุมได้ และหมดไป จึงเลิกการปลูกฝีในประเทศไทย ประมาณปี พศ2517 เป็นต้นมา และองค์การอนามัยโลกประกาศว่าฝีดาษหมดไปในปีพ.2523  และทั่วโลกก็เลิกปลูกฝีตั้งแต่นั้นมา 


ก่อนหน้านี้ฝีดาษลิง เคยระบาดในแอฟริกาแล้วเข้าสู่สหรัฐอเมริกา ระบาดในหลายรัฐ เมื่อปีพ. 2546  มีผู้ป่วยมากกว่า 30 คน มีการวิเคราะห์กันว่า ฝีดาษลิงอุบัติขึ้นซ้ำ เนื่องจากประชากรไม่ได้รับการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษภายหลังโลกปลอดไข้ทรพิษ โดยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่เคยถูกควบคุมได้มาช้านาน ถูกละเลย เพราะเข้าใจว่า โรคถูกกวาดล้างไปแล้ว จึงไม่มีการฉีดวัคซีนปูพรมอย่างเข้มงวด โรคจึงกลับมาอุบัติใหม่  โดยมีผู้ติดเชื้อ 3,470 คน อัตราการเสียชีวิต 66%

ความคิดเห็น