เก็บตกจากวชิรวิทย์ | พลิกปมข่าว ตอน "โจทย์​ท้าทายกระจายวัคซีน"

ใกล้จะครบ 14 วันที่รัฐออกมาตรการพื้นที่สีแดงเข้ม 6 จังหวัดเพื่อควบคุมโรค ลดการเดินทางของประชาชน แต่จำนวนผู้ติดเชื้อ ก็ยังอยู่ในหลักพันคนต่อเนื่อง ยังไม่มีแนวโน้มลดลง


ต้องยอมรับว่า วิธีการควบคุมโรคแบบเดิม ไม่ว่าจะการสอบสวนโรคหากลุ่มเสี่ยงนั้น เมื่อมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นก็เริ่มที่จะตามไม่ทัน และควบคุมไม่อยู่ ซึ่งในระหว่างที่ยังรอวัคซีน จำเป็นต้องระดมการตรวจเชื้อเชิงรุกในชุมชน เพื่อแยกผู้ติดเชื้อออกมา ปัจจุบันยังมีสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด เป็นข้อเสนอเร่งด่วนของทีม​เศรษฐศาสตร์ TDRI ขณะนี้

แต่ดูเหมือนว่า สิ่งที่ กทม. ให้ความสำคัญมากตอนนี้ คือ วัคซีน ความพยายาม ปูพรมฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ เริ่มขึ้นเมื่อภาคเอกชนอาสาเข้ามาช่วยกระจายวัคซีน จัดการสถานที่ และอำนวยความสะดวก เพียงแต่ขอให้รัฐจัดหาวัคซีนให้ทัน 

ตามแผนเดิมการกระจายวัคซีนในกรุงเทพฯ ที่ร่วมมือกับภาคเอกชน จะเริ่มในเดือนมิถุนายน แต่ล่าสุดปรับแผน ให้เร็วขึ้น เตรียมทยอยเปิดบริการฉีดวัคซีนจุดแรก ที่เซ็นทรัลลาดพร้าวในวันพรุ่งนี้ การกระจายจุดฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯหลายจุด จะทำให้ผู้ติดเชื้อลดลงหรือไม่

ความพยายามเร่งฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ สะท้อนให้เห็นความเร่งด่วนที่ต้องการตัดวงจรระบาด เพราะรัฐไม่สามารถที่จะใช้มาตรการเข้มข้นต่อไปได้อีก เพราะไม่สามารถแบกรับความเสียหายทางเศรษฐกิจได้ แต่การฉีดวัคซีนจะได้ผลหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชนและจำนวนวัคซีนที่มาทันเวลา

ถ้าเป็นไปตามแผน ที่จะมีจุดกระจายวัคซีน 25 จุด ศักยภาพการรฉีดวัคซีนแต่ละแห่งจะอยู่ที่ 1000-3000 คนต่อวันรวม 25 แห่งก็จะสามารถฉีดวัคซีนได้วันละ 30,000 - 50,000 คนต่อวัน เบื้องต้นทุกแห่งจะเปิดให้บริการต่อเนื่อง 7 เดือน

ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร มีประชากรกว่า 5 ล้าน 7 แสน คน หรือมากกว่านั้น หากต้องการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ก็ต้องฉีดให้ครอบคลุมประชากร 70% หรือ 3 ล้าน 9 แสน ถ้าทำได้ตามเป้าฉีดวัคซีนวันละ 50,000 กรุงเทพมหานคร อาจเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ในอีก 78 วัน หรือประมาณ 2 เดือนหลังจากนี้ 

ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนที่ลงทะเบียนผ่านแอปหมอพร้อม ณ วันที่ 10 พฤษภาคมในกรุงเทพฯมีผู้ลงทะเบียนเพียง 516,282 คน​ หากเทียบกับภาพรวมแล้วยังน้อยอยู่ ล่าสุด อาจเป็นเพราะ จำกัดเพียง ผู้สูงอายุ และ 7 กลุ่มโรค ล่าสุด กทม.ให้ ผู้ที่มีอายุ 18-59 ปี เริ่มลงทะเบียนได้เลยไม่ต้องรอ อีก 2 เดือนแล้ว

โจทย์ ต่อมา คือ ทำอย่างไรที่จะให้ คนไทยสมัครใจฉีดวัคซีนให้ครบตามเป้าหมายให้เร็วที่สุด แม้ที่ผ่านมาจะมีข่าวเกี่ยวกับผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนที่ทำให้คนไม่กล้าฉีดแต่ก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก​ รศ.นิพนธ์ พัวพงศกรนักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ มองในยุทธศาสตร์ ว่า ข้อมูลที่ถูกต้อง จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นได้

ขณะที่ศาตราจารย์แพทย์ 2 สถาบันทั้ง 4 ราชภัฏจุฬายืนยันว่าวัคซีนสุนัขและศาสนิกาประสิทธิภาพไม่ได้ไปกว่ายี่ห้ออื่นพร้อมทั้งยังย้ำว่ายังไม่มีใครเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนจึงเรียกร้องความมั่นใจจากคนไทยรับข่าวสารที่ถูกต้องและสมัครใจฉีดวัคซีนที่ครบตามเป้าหมาย 70% ภายในปี 2564

แต่ในขณะเดียวกันความรู้สึกของประชาชนที่ยังไม่มั่นใจก็เป็นสิ่งที่จะมองข้ามความสำคัญไม่ได้โดยต้องนำคำถามและข้อสงสัยที่จะต้องตอบให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดความร่วมมือที่จะฉีดวัคซีนเพราะการฉีดวัคซีนที่เป็นประโยชน์ส่วนตัวจะเป็นประโยชน์ส่วนรวม สำคัญที่สุดคือฟื้นเศรษฐกิจได้กลับคืนมาเพื่อลดความสูญเสียที่จะกลายเป็นแผลเป็นในมิติทางสังคมโดยเร็ว

ความคิดเห็น