เก็บตกจากวชิรวิทย์ | “นักเศรษฐศาสตร์รุ่นเยาว์” วิเคราะห์ทางรอดบัณฑิตจบใหม่
ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของ covid 19 ยังคงเห็นได้ชัดเจนจากสถานการณ์การจ้างงานโดยเฉพาะกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ที่ยังคงมีความเสี่ยง เนื่องจาก เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว นี่เป็นประเด็นในวงสัมมนาของนักศึกษาปีที่ 4 คณะเศรษฐศาสตร์ ซึ่งพวกเขาก็เป็นหนึ่งในกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ที่เสี่ยงตกงานเช่นกันจะนำความรู้ที่เรียนมาเอาตัวรอดในสถานการณ์อย่างนี้ได้อย่างไร
จำนวนผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน หรือนั่นก็คือ บัณฑิตจบใหม่ ที่มีแนวโน้มว่างงานเพิ่มในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2563 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือตัวเลขสถิติที่นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หยิบยกขึ้นมาประกอบการวิเคราะห์สถานการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก covid-19 ในงานสัมมนา นักเศรษฐศาสตร์รุ่นเยาว์
และในฐานะที่นิสิตชั้นปีที่ 4 ที่กำลังจะกลายเป็นบัณฑิตจบใหม่ก็เริ่มหวั่นใจถึงอนาคตของตัวเอง บางคนก็ยอมรับว่าอาจต้องตกงานหลังเรียนจบ
แต่ตลอด 4 ปีที่นิสิตกลุ่มนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีทางเศรษศาสตร์ คำถามก็คือจะปรับใช้ความรู้ เพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์เศรษฐกิจ ได้อย่างไร
ส่วนหนึ่งบอกว่า ต้องประเมินความต้องการของตลาดแรงงาน แม้ช่วงแรกอาจไม่ได้งานที่ตรงสายแต่ก็ต้องไม่เลือกงาน เพื่อให้มีรายได้ ดีกว่าเป็นผู้ว่างงาน
ขณะที่การค้นหาลักษณะเด่นบางอย่าง ก็เป็นความต้องการของตลาดเฉพาะ ในระหว่างนี้ต้องค้นหาความสามารถพิเศษของตัวเอง เพราะในตลาดแรงงานยุคใหม่ก็มีอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นแทนที่อาชีพเดิมที่หายไป
แม้จะมีความเป็นห่วงอนาคตของตัวเองอยู่บ้างแต่จากข้อมูลสถิติที่ได้มา ก็ทำให้มองเห็นโอกาส และในฐานะนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่หากได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจภาคนโยบาย ก็มีความเห็นร่วมกันว่าควรจะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะการกระจายสวัสดิการให้ทั่วถึง ส่วนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ.
ภาพร่วมงานสัมนาโครงการของ นิสิต ปี 4 คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น