เก็บตกจากวชิรวิทย์ | พลิกปมข่าว​ ตอน​ "ภูเก็ต​โมเดล​ พร้อม-ไม่พร้อม? เปิดเมือง"

"จากมาตรการคุมเข้มชาวต่างชาติเข้าประเทศ ทำให้มาถึงวันนี้ครบ 100 วันแล้วที่ไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศไทย​ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีผลกระทบมากมายหลายภาคส่วน​ โดยเฉพาะจังหวัดที่พึ่งพาการท่องเที่ยวจากต่างชาติเป็นหลักอย่างภูเก็ต​ แม้รัฐบาลจะมีนโยบายนำร่องเปิดประเทศที่ภูเก็ต แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงอยู่ไม่น้อยว่าเปิดเมืองอย่างไรจึงจะปลอดภัย​ เพราะหลายฝ่ายกังวลว่าหากประเทศไทยกลับมาระบาดซ้ำ​ อาจทำให้เศรษฐกิจมันแย่ลงไปกว่าเดิม​"


หากเป็นไปตามแผน​ 1​ ตุลาคม​ นี้​ รัฐบาลจะนำร่องเปิดประเทศที่จังหวัดภูเก็ต​ แต่ว่าการเปิดแต่ว่าการเปิดประเทศครั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า จะรับนักท่องเที่ยวเข้ามาแบบไม่กักตัว​ ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องมีการคัดเลือกกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูงเข้ามากักตัวในโรงแรมหรู​ ที่ผ่านการรับรอง มาตรฐานการเป็นสถานที่กักกันโรคทางเลือกหรือว่า ALSQ​อยู่ดี​ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า รายได้ที่เข้ามาในช่วงแรกก็อาจจะไปไม่ถึงรายย่อยซึ่งจะรับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤตโควิดครั้งนี้ด้วย

นี่เป็นภาพบรรยากาศยามค่ำคืนของหาดป่าตอง ซึ่งเคยคึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยว​ต่างชาติ​ วันนี้สถานบันเทิงหลายร้านปิดตัว​ บางร้านจำใจเปิดเพื่อที่จะพยุงกิจการให้เดินต่อไปได้ แต่ก็ยังไม่รู้อนาคตว่าจะต้องจะแบกรับภาระหนี้สินไปได้อีกนานเท่าไหร่

เมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่กลับมาก็ต้องปรับตัวด้วยการลดราคาเครื่องดื่มลงเพื่อดึงดูดคนไทย ผู้จัดการสถานบันเทิงคนนี้บอกว่า แม้จะกลัวโควิดระบาดรอบ 2 แต่ก็ยังอยากให้เปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยว

หากมีการระบาดซ้ำหลังจากการเปิดประเทศ นักธุรกิจทั้ง​ 3​ คนในจังหวัด​ภูเก็ต​ กังวลว่าอาจฉุดให้เศรษฐกิจดิ่งลงไปกว่าเดิมจากมาตรการล็อกดาวน์​ ที่ยังไม่มีแผนเยียวยาที่ชัดเจน ขณะเดียวกัน ภูเก็ตโมเดลที่จะนำร่องเปิดประเทศ ส่งอานิสงส์​แต่เพียงโรงแรมรายใหญ่​ ขณะที่รายย่อย​ รถเช่า​ แท็กซี่​ ร้านค้า​ ร้านอาหาร​ เม็ดเงินคงไปไม่ถึง พวกเขาจึงขอให้รัฐตั้งกองทุนเยียวยาผู้ประกอบการในภูเก็ต และพักชำระหนี้ 2 ปี

นับว่ายังคงมีข้อถกเถียงสำหรับภูเก็ตโมเดล ว่าจะทำให้เม็ดเงินลงไปได้ทั่วถึงทุกส่วนหรือไม่​ แต่หลายฝ่ายก็คิดว่าคงจะต้องเริ่ม เปิดประเทศ เพราะไม่อย่างนั้น ก็อาจจะอยู่ไม่รอด

ในปี 2562 ก่อนที่จะเกิดวิกฤตโควิด​ ภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวรวมประมาณ 14 ล้านคนแบ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติถึง 73% แล้วก็เป็นนักท่องเที่ยวไทย 26% รายได้ที่ได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามารวมกันแล้วกว่า 4 แสน​ 7​ หมื่นล้านบาท​ ขณะที่รายได้จากนักท่องเที่ยวไทยมีเพียง 5​ หมื่นล้านบาทเท่านั้น นับว่าพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก ไม่ต้องพูดถึงปี 2563 หลังจากเกิดวิกฤตโควิด​ มุกอย่างก็เงียบสงบครับ และ สัดส่วนนักท่องเที่ยวเหล่านี้ เป็นคำตอบว่าทำไมภูเก็ต​ จึงกลายเป็นจังหวัดนำร่องที่จะเปิดประเทศ

และถ้าหากว่าจะต้องเปิดประเทศที่ภูเก็ตจริงๆ ทีมข่าวไทยพีบีเอสได้ไปสำรวจทรัพยากรและการเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขในการรับมือโดยเฉพาะการเตรียมทีมสอบสวนโรค ซึ่งนับเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมโรคระบาด


สำรวจความพร้อมสาธารณสุข​ รับภูเก็ตโมเดล

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข​ รพ.สต.เกาะแก้ว​ ที่ผ่านการอบรมระบาดวิทยา พร้อมกับ​ อสม.ตำบลเกาะแก้ว​ จังหวัดภูเก็ต ลงพื้นที่ให้ความรู้​ประชาชน​ ยังคงมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด19​ ทั้งการเว้นระยะห่างทางสังคม​ ล้างมือบ่อย​ และสวมใส่หน้ากากอนามัย หลังรัฐบาล ประกาศนโยบายนำร่องเปิดประเทศที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งก่อนหน้านี้มีเคยผู้ติดเชื้อกว่า 200 ราย

นี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของทีมสอบสวนโรคในช่วงที่ยังไม่เกิดการระบาดซ้ำ แต่หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดมีผู้ติดเชื้อหลุดรอดออกมาหลังเปิดประเทศ หน้าที่ของพวกเขาคือตามหาผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ เร่งสอบสวนโรค ระบุสถานที่ที่ผู้ติดเชื้อเดินทางไปสัมผัส​ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไม่ให้กระจายวงกว้าง และเป็นข้อมูลในการกำหนดล็อกดาวน์ อย่างตรงจุดไม่ให้ไม่ส่งผลกระทบมาก

แม้เป็นเพียงชาวบ้านที่อาสามาทำงานด้านสาธารณสุข ไม่ได้ผ่านการอบรมไม่ได้เป็นนักระบาดวิทยาเต็มตัว แต่ก็พอรู้หลักการเรื่องการสอบสวนโรคและระบาดวิทยาไม่น้อย ด้วยอัธยาศัยที่เป็นมิตรและรู้จักชาวบ้านทุกคนในชุมชน​ ธนวรรณ​ เอกทวีวัฒนเดช​ ​ จึงช่วยงานระบาดวิทยาและสอบสวนโรค ได้เป็นอย่างดี 

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตเปิดเผยว่าปัจจุบัน เตรียมทีมสอบสวนโรคในพื้นที่ทั้ง 18 ตำบลไว้ทั้งหมด 21 ทีม​ มีจำนวนโรงพยาบาลรองรับผู้ติดเชื้อโควิค จำนวน 9 แห่ง มีห้องสำหรับผู้ป่วยหนัก​ หรือ​ ไอซียูจำนวน 20 ห้อง เบื้องต้นมีมากกว่า 400 เตียงพยาบาลรองรับผู้ติดเชื้อ​ หากมีจำนวนมากกว่านั้นก็พร้อมเปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มอีกกว่าร้อยเตียง

ที่ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต​ เป็นด่านแรกที่ ต้อนที่รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ผู้อำนวยการส่วนการแพทย์ของการท่าอากาศยานยืนยันว่า ที่นี่จะไม่ใช่จุดเสี่ยงการแพร่ระบาด​ เพราะมาตรการคัดกรองและควบคุมโรค โดยจัดเตรียมอาคาร แยกพื้นที่สำหรับการตรวจโควิค​ หรือ​ Covid​ on​arrival​ ไว้สำหรับผู้โดยสารต่างชาติ ขาเข้า พร้อมที่พักคอยผลตรวจ เป็นเวลา 90 นาที หลังตรวจเสร็จแล้ว ผู้โดยสาร ก็จะเดินไปขึ้นรถของโรงแรมที่กักตัว โดยมีเจ้าหน้าที่ติดตามไม่ให้หลุดลอดออกมา

เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จะต้อง ใส่ชุด ppe พร้อมวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคอย่างมิดชิด และหากเกิดมีผู้ติดเชื้อ สัมผัสใกล้ชิดกับพนักงานของท่าอากาศยาน พร้อมสั่งให้ทีมงาน กักตัวอยู่ที่บ้าน เพื่อรอดูอาการ 14 วันทันที

อีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญของทีมสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ในการเตรียมรับนักท่องเที่ยว คือการเตรียมความพร้อมโรงแรมที่จะใช้เป็นสถานกักตัวทางเลือกซึ่งปัจจุบันมีผ่านเกณฑ์​เพียง 6 แห่ง จากมากกว่า​ 60​ แห่งที่ยื่นลงทะเบียน 

แต่ในขณะเดียวกันโรงแรมที่ผ่านการคัดเลือก​ หรือกำลังจะผ่านการคัดเลือก​ก็ปฏิเสธที่จะ เปิดตัวอย่างชัดเจน​ เพราะกลัวจะเสียลูกค้าที่เป็นคนไทย​ ไม่มั่นใจเข้าพักกลัวติดเชื้อโควิด

ดูเหมือนว่าการเปิดเมืองภูเก็ต รับนักท่องเที่ยว อย่างปลอดภัยต้องอาศัยการมีส่วนร่วม จากหลายภาคส่วน รวมถึงความไว้เนื้อเชื่อใจและการปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด ซึ่งหากภูเก็ตโมเดลทำสำเร็จจริง การเปิดประเทศ​ก็คงทยอยไปอีกหลายจังหวัด​ แต่ก็ต้องเผื่อใจ​ มีแผนรองรับหากการการระบาดซ้ำ

ความคิดเห็น