เก็บตกจากวชิรวิทย์ | วิกฤติเศรษฐกิจถดถอย ปี 64 เสี่ยงว่าง 3.26 ล้านคน
ปัญหาการว่างงาน เป็นประเด็นที่ #วชิรวิทย์รายวัน ติดตามมาตลอดเพราะเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ covid 19 แต่หากมองไปข้างหน้า ปัญหาการว่างงานจะรุนแรงหรือไม่ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และพยากรณ์ไปถึงปีหน้า ก็คงขึ้นอยู่กับนโยบายความมั่นคงทางสุขภาพ ซึ่งดูแลโดย ศบค.
หากยังให้น้ำหนักกับความมั่นคงทางสุขภาพ อย่างเข้มข้นต่อเนื่องก็อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและลามต่อไปยังตลาดแรงงาน ให้สามารถฟื้นตัวได้ช้าลง
ในปี 2564 ก็อาจจะได้เห็นตัวเลขผู้ตกงานจริงๆแต่ถึง 3 ล้านคน เลยทีเดียว การบอกต่อๆกันว่าหากใครมีงานประจำให้กอดเอาไว้แน่น ก็คงจะสะท้อนความกังวลของสังคมในขณะนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะงานทุกวันนี้หายากเหลือเกิน
แต่ในทางกลับกันคนที่มีงานประจำอยู่แล้วก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงตกงาน เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของ covid ที่ยังมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากทั่วโลกยังคงต้องระมัดระวังการเปิดน่านฟ้าจุดให้เศรษฐกิจซบเซา ไปแบบยาวๆ
ที่บอกว่าไม่ฟื้นตัว ก็เพราะว่าหากเราไปย้อนดูตัวเลขหลังจากเริ่มมีการระบาดของ covid 19 ผ่านมา 6 เดือน พบว่ามีผู้ว่างงานในไตรมาส 2 ของปี 2563 เพิ่มขึ้น 7.4 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 2% ประเด็นที่ทีดีอาร์ไอ เป็นห่วง ก็คือ ผู้ที่มีงานประจำแต่ไม่ได้ทำงาน ซึ่งถือว่ากลุ่มนี้เสี่ยงตกงานมากที่สุดมีจำนวนถึง 2.5 ล้านคนเมื่อรวมกับผู้ว่างงานจริง 7.4 แสนคน จะรวมเป็น 3.26 ล้านคนที่อยู่ในข่ายว่างงานที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ในสิ้นปีนี้ หรือจะได้เห็นตัวเลขนี้ในปีหน้า คิดเป็น 8.5%ของแรงของกำลังแรงงานทั้งหมด 37 ล้านคน ซึ่งตัวเลขวิกฤตนี้สูงกว่าช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยํากุ้งปี 2540 ด้วยซ้ำไป
หลายคนอาจสงสัยว่าผู้ที่มีงานประจำแล้วไม่ได้ทำงานคือใคร ผมลงไปพูดคุยกับ พนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา คนเหล่านี้ยังอยู่ในระบบการจ้างงาน แต่ไม่มีงานทำเพราะไม่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ไปดูกันนะครับว่าชีวิตของพวกเขาอยู่บนเส้นด้ายมากน้อยแค่ไหน
พนักงานบริการเสี่ยงตกงานมากสุด
เมืองพัทยาวันนี้ ไม่คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวต่างชาติเหมือนเคย ร้านค้าริมถนนหน้าชายหาด ทยอยปิดตัวลง แม้รัฐบาลประกาศผ่อนปรนการดำเนินธุรกิจ แต่สัญญาณของการฟื้นตัวก็ยังไม่กลับคืนมา
เหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพนักงานภาคบริการจำนวนมาก ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจการท่องเที่ยว
ธนายุทธ บัวลอย เป็นพนักงานเสริฟโรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา เป็นเวลา 6 เดือนแล้วที่เขารับเงินเดือนเพียงครึ่งเดียวซึ่งยอมรับว่าไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับทั้งค่างวดผ่อนรถ และค่าเช่าบ้าน
สิ่งที่เขาต้องการ คือยอมให้นายจ้าง จ้างออกโดยจ่ายชดเชยตามกฎหมาย เพื่อขอรับเงินก้อนไปเริ่มต้นชีวิตใหม่
แต่นายจ้างไม่ยอมจ้างออก ยังคงจ่ายเงินเดือนเพียงเดียวบีบให้พนักงานลาออกโดยสมัครใจเพราะไม่ต้องการจ่ายชดเชย
ทุกวันนี้ ธนายุทธ หารายได้เสริมโดยการขับ Grab Bike พร้อมทนอยู่ไปด้วยความหวังว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น และยังอยากอยู่ในเมืองพัทยาต่อไป หากต้องออกจากงานเขาพร้อมที่จะเป็นฟรีแลนซ์รับจ้างเป็นครั้งๆ เพราะยังเห็นโอกาสมากกว่าการกลับบ้าน ซึ่งไม่มีทักษะของการเป็นเกษตรกร
นอกจาก ธนายุทธ ยังมีพนักงานคนอื่นๆที่อยู่ในโรงแรมเดียวกัน ที่เผชิญปัญหาเหมือนกัน ยื่นเรื่องฟ้องร้อง ต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งจนถึงวันนี้ยังไม่มีความคืบหน้า
พนักงานโรงแรมทั้งสองคน บอกว่า พร้อมรับความเสี่ยงที่จะตกงาน ขอเพียงแต่ได้เงินชดเชยตามกฎหมาย เพื่อนำไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในอาชีพใหม่ และขอความเป็นธรรมจากนายจ้าง ไม่เอาเปรียบพนักงานด้วยการบีบให้ลาออกเอง ซึ่งจะทำให้เสียผลประโยชน์หลายอย่างจากรัฐ ในโครงการช่วยเหลือเยียวยาต่างๆด้วย
6.4 แสนคนเตรียมเปลี่ยนอาชีพ
พนักงานในภาคบริการโดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมได้รับผลกระทบจากโควิดมากที่สุดก็สอดคล้องกับข้อมูลของ TDRI ที่ระบุว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือภาคบริการซึ่งมีจำนวนแรงงาน 19 ล้านคนในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาก็พบว่ามีจำนวนแรงงานในภาคบริการรถลง 1.8% หรือคิดเป็น 3.4 แสนคนซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับภาคธุรกิจอื่นๆ
ดูจากตัวเลขที่ ผลกระทบของโควิค 19 ที่มีต่อแรงงานตามประเภทอุตสาหกรรมในภาพรวมโดยการเปรียบในไตรมาส 2 พบว่าภาคการเกษตรที่มีจำนวนแรงงานอยู่กว่า 11 ล้านคนก็จะมีการจ้างงานลดลงไป 0.3% อุตสาหกรรมที่มีจำนวนแรงงาน 6.27 ล้านคน ก็จะลดลงไป 4.2 % ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตที่มีจำนวน 6 ล้านคนก็จะลดลงไป 4.49 % และในส่วนของภาคบริการซึ่งมีจำนวนมากที่สุดถึง 19.8 ล้านคนก็จะลดลงไป 1.8% รวมอัตราการจ้างงานที่ลดลงทั้งหมดจะ ทำให้การจ้างงานที่หายไปมีจำนวนถึง 648,790 คน และกลุ่มคนเหล่านี่จำเป็นต้องเปลี่ยนอาชีพ
ดร. ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ บอกว่า เมื่อประเมินความเป็นไปได้หากมีแรงงานหลุดออกมานอกระบบในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจจาก covid-19 จะมีทางเลือก 2 ทางคือ 1 กลับไปสู่ภาคการเกษตรและการแปรรูปอาหารและ 2 เป็น Freelance รับจ้างพาร์ทไทม์
โดยตัวอย่างของการบินไทยเห็นได้ชัดเป็นธุรกิจภาคบริการที่จะรับผลกระทบจากการระบาดของโควิช 19 ที่ไม่สามารถขึ้นบินได้ทุกวันนี้บริษัทในยุคฟื้นฟูต้องปรับตัวในการขายตั้งแต่ปาท่องโก๋สังขยาเปิดภัตตาคารอาหารซึ่งนับว่าปรับตัวจากสายการบินมาเป็นบริการมาแปรรูปอาหารเพื่อความอยู่รอด
บอกอีกว่าแนวโน้มการจ้างงานในอนาคตจะไม่มีแต่พนักงานประจำแต่จะเป็นลักษณะการจ้างงานเป็นครั้งเช่นฟรีแลนซ์หรือรับจ้างเป็นกัดหรือพาร์ทไทม์ซึ่งนับเป็นแรงงานนอกระบบที่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมอย่างจริงจังจึงมีข้อเสนอให้กระทรวงแรงงานเร่งผลักดันกฎหมายคุ้มครองแรงงานนอกระบบเพื่อรองรับแรงงานคนตกงานจากงานประจำ
ในส่วนภาคการเกษตรที่จะมีคนว่างงานเปลี่ยนไปทำอาชีพนี้มากขึ้นรัฐบาลจะต้องให้ความรู้และส่งเสริมด้านการตลาดผักดังราคาสินค้าเกษตรส่งเสริมการแปรรูปอาหารการส่งออกให้มากขึ้น
ดร.ยงยุทธ บอกด้วยว่า จริงๆแล้ววิกฤตว่างงานจะต้องเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว จากสถานการณ์เทคโนโลยีปั่นป่วน หรือดิสรับชั่น แต่ที่รุนแรงและหนักหน่วงเช่นทุกวันนี้ก็เพราะว่าซ้ำเติมจากการระบาดของ covid 19
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานยังมองโลกในแง่ดีว่า การแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนคือการจัดจ๊อบแฟร์ที่จะมีขึ้นในวันเสาร์อาทิตย์ไปจนถึงวันจันทร์ที่จะถึงนี้ จะดูดซับคนตกงานได้จำนวนหนึ่งล้านตำแหน่งตามที่ต้องการ ขณะเดียวกันก็รับทราบข้อเสนอในการผลักดันร่างกฎหมายคุ้มครองแรงงานนอกระบบเข้าสภา ให้เร็วที่สุด
ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ถ้ารัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาการจ้างงานได้ ก็จะส่งผลกระทบไปถึงภาวะหนี้ครัวเรือน และกำลังซื้อของประชาชนผูกพันไปถึงระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ
แม้จะส่งเงินกู้ 4 แสนล้าน ลงไปเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่คำถามที่ยังมีจนถึงทุกวันนี้คือ ทุกภาคส่วนใช้เงินส่วนนี้อย่างตรงจุดในการแก้ปัญหาปากท้องแล้วหรือยัง.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น